วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

Study Notes 2



Study Notes  2
Research in Early Childhood Education
Miss. Jintana     Suksamran
January 18 ,2016
Group 101 (Monday)
Time  08.30 - 14.30 PM.




องค์ความรู้

            การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย  มีหัวข้อดังนี้

         1.  การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์  CLICK
         2.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและ
              การพูดของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนบ้านไทยสมบูรณ์ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย  CLICK
         3.  การใช้กิจกรรมการวาดเพื่อเตรียมคามพร้อมด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย  CLICK
         4.  ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
              การฉีก ตัด ปะ  CLICK
         5.  การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
              สำหรับเด็กปฐมวัย   CLICK
         6.  การส่งเสริมทักษะการคิดขอองเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา  CLICK





กลุ่มของพวกเราได้นำเสนอ

เรื่อง  การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ (Promoting Thinking Skills of Pre-school Children Through Scientific Activities) / 2556

การศึกษาระดับ   ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประถมศึกษา)

มหาวิทยาลัย       มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้วิจัย                 นางสุนดา เภาศร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดเปรียบเทียบและคิด แก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยระหว่างเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ กับเกณฑ์ร้อยละ  60.00

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการส่งเสริมทักษะการคิดโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาทักษะการคิดเพิ่มขึ้น
2. ผลของการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ส่งเสริม ทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์และนำไปประยุกต์ใช้ ในระดับชั้นอื่นๆ ได้

วิธีดำเนินการวิจัย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านวังทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร  เขต  1 จำนวน  23 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้   ได้แก่
            1. แผนการจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรม วิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้จำนวน 5 หน่วย หน่วยละ 5 แผน  ได้แก่  หน่วยผีเสื้อ  หน่วยน้ำ  หน่วยสัตว์เลี้ยง  หน่วยผัก  และหน่วยมด  รวมทั้งสิ้น  25 แผน และแบบฝึกระหว่าง เรียน  จำนวน  4 ตอน  ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะการคิดคล่อง จำนวน 5 ข้อ การคิดหลากหลาย จำนวน  9  ข้อ การคิดเปรียบเทียบ จำนวน  5  ข้อ การคิดแก้ปัญหา จำนวน   5  ข้อ  รวมทั้งสิ้น   24  ข้อ
            2. แบบทดสอบทักษะการคิดจำนวน  1 ฉบับ มี 4 ตอน ประกอบด้วยแบบทดสอบ ทักษะการคิดคล่อง จำนวน  ข้อ การคิดหลากหลาย จำนวน  9   ข้อ การคิดเปรียบเทียบ จำนวน  ข้อ การคิดแก้ปัญหาจำนวน   ข้อ รวมทั้งสิ้น 24 ข้อ

การวิเคราะห์ข้อมูล

วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละทำได้ดังนี้
            1. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทำแบบฝึกระหว่างเรียนมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ
            2. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบทักษะการคิดหลังเรียนโดยนำข้อมูล ที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ
            3. เปรียบเทียบคะแนนระหว่างเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ 95.4 หาค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทักษะการคิดระหว่างเรียนและหลังเรียน เปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ  60.00 เพื่อต้องการทราบความก้าวหน้าของทักษะการคิด  ทั้งรายบุคคลและรายทักษะ

ข้อเสนอแนะ

1. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกบทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย ทักษะการคิดวิจารณญาณ  และทักษะการคิดที่สำคัญด้านอื่นๆ
            2. ในการศึกษาครั้งต่อไปควรมีการศึกษาเกี่ยวกับทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย  โดยใช้สื่อของเล่นพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาทักษะการคิด


PowerPoint ที่นำเสนอ







การนำความรู้ไปประยุกต์

                การเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยที่มีปัญหาและสามารถนำไปแก้ไขปัญหานั้นๆ หรืองานวิจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเป็นแนวทางในการเรียนการสอนทั้งในปัจจุบันและอนาคต และยังได้รู้การนำทักษะการสอนในแบบต่างๆมาใช้ และพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น

ประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง   แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจนำเสนองานวิจัยที่ได้รับมอบหมาย ระดมความคิดในงานกลุ่มกับเพื่อน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับอาจารย์และเพื่อนๆ
เพื่อน    แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำงานของตนเอง นำเสนองานได้ดี แต่งกายเรียบร้อยทุกคน
อาจารย์  แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา เตรียมความพร้อมในการสอน ให้คำชี้แนะและแนะนำเป็นอย่างดีและชัดเจน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น